๒. ซอฟต์แวร์ระบบ

ซอฟต์แวร์ระบบ

- ระบบปฏิบัติการ
     ระบบปฏิบัติการ (operating system) หรือเรียกย่อๆ ว่า โอเอส (OS) เป็ฯซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ควบคุมและประสานการทำงานระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ได้แก่ หน่วยรับเข้า  หน่วยประมวลผลกลาง  หน่วยความจำรอง  และหน่วยส่งออก  นอกจากนี้ยังเป็นตัวกลางเชื่อมโยงและสนับสนุนคำสั่งในการทำงานระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์ด้วยบางครั้งระบบปฏิบัติการนิยมเรียกว่า แพลตฟอร์ม (platform)



๑. รูปแบบการติดต่อกับผู้ใช้งาน  ระบบปฏิบัติการมีรูปแบบการติดต่อกับผู้ใช้งาน ๒ แบบ ดังนี้
     ๑.๑) แบบบรรทัดคำสั่ง (command - line interface) เป็นรูปแบบการติดต่อกับผู้ใช้ในยุคแรกๆ  โดยผู้ใช้ต้องพิมพ์คำสั่งให้ระบบปฏิบัติการทำอย่างใดอย่างหนึ่ง  เพื่อควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้สะดวกต่อการใช้งาน การติดต่อกับผู้ใช้แบบบรรทัดคำสั่งจึงได้รับความนิยมลดลง แต่รูปแบบการติดต่อแบบบรรทัดคำสั่งยังมีความจำเป็นกับเครื่องคอมพิวเตอร์  เนื่องจากคำสั่งสามารถช่วยแก้ปํญหาต่างๆ ได้ เช่น การบันทึกไฟล์ข้อมูล  การซ่อมแซมไฟล์ที่เสียหาย เป็นต้น


     ๑.๒) แบบกราฟิก (graphic user interface : GUI) เป็นรูปแบบการติดต่อกับผู้ใช้รูปภาพเล็กๆ เป็นสัญลักษณ์แทนไฟล์หรือโปรแกรม  ที่เรียกว่า รายการเลือก (menu) หรือไอคอน (icon) ผู้ใช้สามารถสั่งงานได้โดยใช้เมาส์คลิกเลือกที่รูปภาพนั้นเพื่อเปิดไฟล์หรือ โปรแกรมต่างๆ  ทำให้ใช้งานได้สะดวกและมีสีสันที่สวยงาม  ซึ่งเป็นรูปแบบการติดต่อที่ได้รับความนิยมสูง



๒. ประเภทของระบบปฏิบัติการ  ระบบปฏิบัติการสามารถแบ่งออกได้เป็น ๓ ประเภท ดังต่อไปนี้
     ๒.๑) ระบบปฏิบัติการเดี่ยว (stand - alone operating system) เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือโน๊ตบุ๊กคอมพิวเตอร์ สามารถรองรับผู้ใช้งานเพียงคนเดียว  กล่าวคือเป็นระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำงานโดยไม่มีการเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น  แต่ปัจจุบันระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยวได้ขยายขีดความสามารถให้รองรับการเชื่อมต่อกันเป็นระบบเครือข่ายได้  ตัวอย่างระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว มีดังนี้
     (๑) ระบบปฏิบัติการดอส  (Disk Operating System : DOS) เป็นระบบปฏิบัติการที่ติดต่อกับผู้ใช้โดยรูปแบบบรรทัดคำสั่ง  เพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่งนั้นๆ โดยระบบปฏิบัติการดอสรุ่นแรกเกิดจากความร่วมมือระหว่างบริษัทไอบีเอ็มและบริษัทไมโครซอฟต์แวร์เพื่อพัฒนาระบบปฏิบัติการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของบริษัทไอบีเอ็มและใช้ชื่อระบบปฏิบัติการว่า PC - DOS ต่อมาบริษัทไมโครซอฟต์ได้พัฒนาระบบปฏิบัตการดอสของตนเองขึ้นมา โดยใช้ชื่อว่า MS - DOS สำหรับใช้กับบริษัทผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เลียนแบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของบริษัทไอบีเอ็ม


     (๒) ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟต์วินโดวส์ (Microsoft Windows) พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟต์ ติดต่ดกับผู้ใช้โดยแบบกราฟิกนอกจากนี้บริษัทไมโครซอฟต์ยังได้พัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่สามารถทำงานภายใต้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ที่อำนวยความสะดวกในการทำงานของผู้ใช้หลายด้าน เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์นำเสนอ เป็นต้น จำงทำให้มีผู้ใช้งานอย่างแพร่หลาย ได้แก่ Windows 3.0 , 3.1 ,3.11, Windows 95 ,98, ME , Windows NT , 2000 , XP , Vista , Seven


     (๓) ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ (Unix) เป็นระบบปฏิบัติการ ที่เคยพัฒนาในห้องแล็บ Bell สร้างขึ้นเพื่อใช้กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ และเมนเฟรม ใช้ในการควบคุมการทำงาน ของศูนย์คอมพิวเตอร์ ที่มีการเชื่อมลูกข่ายคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ต่อพ่วงเป็นจำนวนมาก ดังนั้นระบบยูนิกซ์ จึงมักใช้ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ และมีการเชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกล เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ต่อมาได้มีการพัฒนา ให้สามารถนำยูนิกซ์ มาใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ได้ ปัจจุบันระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องจากสองค่ายคือ AT&T และ BSD และคาดว่ายูนิกซ์ จะเป็นที่นิยมต่อไป  ลักษณะการทำงาน ยูนิกซ์ ติดต่อกับผู้ใช้ได้ โดยการพิมพ์คำสั่งลงบนเครื่องหมาย Prompt Sign แต่ในปัจจุบัน สามารถจำลองจอภาพการทำงาน ของยูนิกซ์ ให้อยู่ในสภาพแวดล้อมของวินโดวส์ได้แล้ว ทำให้สามารถทำงาน ติดต่อกับผู้ใช้ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น คุณสมบัติพิเศษของยูนิกซ ์คือ เรื่องของการรักษาความปลอดภัย ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ รวมทั้งมีความสามารถสูง ในด้านการติดต่อสื่อสารระยะไกล ระหว่างคอมพิวเตอร์ ทำให้ยูนิกซ์ ถูกนำมาใช้เป็นระบบปฏิบัติการ สำหรับเครือข่ายของโลกที่เรียกว่า อินเทอร์เน็ต ดังนั้นก่อนที่ผู้ใช้จะเข้าสู่ระบบยูนิกซ์ ได้จะต้องทำการพิมพ์ Login Name : หรือชื่อผู้ใช้ (User Name) และรหัสผ่าน (Password) เมื่อเข้าสู่ระบบ โดยผู้บริหารระบบจะเป็นผู้กำหนดให้ UserName และ Password แก่ผู้ใช้แต่ละคน เพื่อควบคุมการใช้งาน และการรักษาความปลอดภัย